ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2017

เมื่อพระพุทธเจ้ากล่าวถึง"ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ"

โดย พุทธฆราวาส ในสมัยพุทธกาลนั้นมีลัทธิมากมายเกิดขึ้นซึ้งล้วนเป็น"ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ"นอกศาสนาพุทธ ซึ้งลัทธิเหล่านี้พระพุทธเจ้า ได้จำแนกความเชื่อลัทธิต่างๆเหล่านี้โดยรวมออกเป็น 3 ลัทธิใหญ่ซึ้งมีความเชื่อและการปฏิบัติไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ๑. ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะกรรมเก่า (past-action determinism) เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตเหตุวาท (ลัทธิกรรมเก่า) ๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่(theistic determinism) เรียกสั้นๆ ว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท (ลัทธิที่เชื่อถือในเรื่อง เทพและพระเจ้า ทั้งหลาย) ๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย (indeterminism หรือ accidentalism) เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท (พิจารณาจากพุทธพจน์แต่ละข้อๆ) ทั้งนี้ตามพุทธพจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ ๓ ระบบเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆกันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยา (การไม่กระทำ) คือ ๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี

อาณาจักรสุโขทัย ผู้เจริญรอยตามวิถีระบอบแห่งพุทธศาสนา

โดย พุทธฆราวาส  เกริ่นนำ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงเริ้มประกาศพุทธศาสนาในชมพูทวีปนั้นพระองค์มิได้แค่เพียงคัดค้านความเชื่อของพวกเจ้าลัทธิพราหมณ์และเจ้าสำนักต่างๆเท่านั้น พระองค์ยังทรงคัดค้านระบอบการปกครองแบบ"เทวาธิปไตย"ในสมัยนั้นอีกด้วย ที่เชื่อว่าผู้ปกครองหรือรัฐบาล นั้นได้อำนาจมาจากเทพเจ้าหรือเป็นเทพเจ้าที่อวตารมาจุติเป็นมุนษย์ ซึ้งผู้คนควรให้ความศรัทธาหรือเคารพนับถือ พระองค์ทรงชี้ว่าผู้ปกครองจะได้รับการสนับสนุนจากราษฎรก็เพราะการประพฤติ ปฏิบัติและตั้งอยู่ในหลักธรรม พระองค์ทรงเรียกร้องให้เหล่าผู้ปกครองทั้งหลายถือวัตรปฏิบัติทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตร เพื่อมุ่งสู่ ความเป็น"จักรพรรรดิราช"อันเป็นระบอบการปกครองภายใต้ครรลองแห่งธรรมในพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาได้เริ้มเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิในยุคสมัยของจักรพรรดิราชอโศกแห่งโมริยะวงศ์ จักรพรรดิราชองค์แรกของชาวพุทธ ซึ้งได้ส่งพระสมณทูตเข้ามานั้นคือ พระโสณะและพระอุตตระอันเป็นพระสมณฑูตสายที่ 9 ซึ้งได้ถูกส่งเข้ามาเผยแผ่ศาสนาในบริเวณนี้ (ซึ้งในสมัยก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามานั้น ดินแดนแถบนี้ก็ถือเอาศาสนาพราหมณ์และผีเป็นสรณะ

การต่อสู้ของพุทธศาสนา ที่จตุรัสเทียนอันเหมินปี 1989

โดย พุทธฆราวาส ตั้งแต่ช่วงหลังศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาเราได้เห็นการเรียกร้องทางการเมืองโดยมีพุทธศาสนากันขนานใหญ่มากมาย เราได้เห็นนักต่อสู้เพื่อพระพุทธศาสนามากมายที่ยอมสละชีวิตตนเองเพื่อปกป้องพุทธศาสนา และ พระธรรมคำสอน ซึ้งหนึ่งในเหตุการณ์นั้นคือ เหตุการณ์การประท้วงที่จตุรัสเทียนอันเหมินในจีนช่วงปี พ.ศ.2532 หรือ ปี 1989 เหตุการณ์จตุรัสเทียนอันเหมินนั้น เป็นที่จดจำของทั่วโลกดีอย่างน้อยก็เป็นที่จดจำของผู้คนในช่วงปลายทศวรรษที่ 80 ที่เผชิญหน้ากับการล่มสลายทางการเมืองของระบอบทรราชอัตตาธิปไตยเผด็จการคอมมิวนิสต์ซึ้งเคยมีอำนาจและแผ่ขยายอิทธิพลกลืนกินไปครึ่งโลก และการเบ่งบานของระบอบประชาธิปไตย ซึ้งในจีนก็ไม่เว้น นำไปสู่การประท้วงเพื่อการปฏิรูปทางการเองให้เป็นประชาธิปไตย ซึ้งภาพที่เราเห็นต่อสายตาชาวโลกนั้นคือภาพของกลุ่มนักศึกษา และ ประชาชน คนชั้นล่าง ทั้งหลายในสังคมจีนที่เผชิญกับสภาวะเศรฐกิจตกต่ำและปัญหาว่างงาน ซึ้งได้ร่วมออกมาต่อสู้เพื่อสิทธิของพวกเขา แต่ยังมีอีกเสียงหนึ่งซึ้งไม่ได้ถ่ายทอดไปสู่สายตาชาวโลก เสียงนั้นเงียบงันแต่เป็นหนึ่งในพลังสำคัญแห่งการต่อสู้เคียงข้างประชาชนชาวจีนใ

กษัตริย์อโนรธา นักปฏิวัติแห่งพุทธศาสนา

โดย พุทธฆราวาส หลังจากการสังคายนาครั้งที่ 3 นั้น "จักรพรรดิราชอโศก โมริยวงษ์" หรือ "พระเจ้าอโศกมหาราช"นั้นได้มีการส่งสมณฑูตเข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธในแถบสุวรรณภูมิ ซึ้งหนึ่งนั้นก็คือดินแดนที่เรียกในปัจจุบันว่า"พม่า"ด้วย พม่านั้นเป็นดินแดนที่ศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาช้านาน ก่อนที่ชนชาติพม่าจะเข้ารับนับถือศาสนาพุทธต่อจากชนชาติมอญรามัญ(อันเป็นชนชาติแรกๆในสุวรรณภูมิที่เข้ารับศาสนาพุทธ)ซะอีก ซึ้งในสมัยก่อนนั้นชนชาติพม่านับถือศาสนาผี-ไสย โดยผีของชาวพม่านั้นถูกเรียกว่า"นัต"และ ยังมีลัทธิอะยะจีซึ้งเป็นลัทธิหมอผีท้องถิ่นซึ้งชาวพม่าให้การนับถือก่อนศาสนาพุทธซะอีกจนกระทั่งการมาถึงของบุรุษ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวพม่าทั้งปวง บุรุษผู้นั้นมีชื่อว่า "พระเจ้าอโนรธา" หรือ"พระเจ้าอโนรธามังช่อ" กษัตริย์อโนรธา นั้นถือได้ว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวพุทธและอาณาจักรพม่าทั้งปวง เพราะเป็น กษัตริย์องค์แรกที่ไม่ได้แค่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรเท่านั้น แต่ยังเผยแผ่ธรรมแห่งพระพุทธองค์ ไปสู่ชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยอื่นๆด้วย ซึ้งจุดเริ้มต้นของการท

จักรวาธิน ระบอบแห่งพุทธศาสนา

โดยพุทธฆราวาส "จักรวาธิน"หรือ"จักรพรรดิร าช"คือ ระบอบการปกครองอันเที่ยงตรง และชอบธรรมของศาสนาพุทธ เป็นระบอบการปกครองที่มุ่งเ อื้อให้มนุษย์นั้นกระทำดี ละเว้นการกระทำชั่ว มุ่งสู่ดินแดนพุทธภูมิอันสง บร่มเย็น เเละ เปิดทางให้มนุษย์ชาติวิวัฒน าการไปสู่สิ่งที่สูงกว่า  ในปัจจุบันศาสนาได้หมดบทบาท อำนาจทางโลกหรือการเมืองทั้ งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออ ก อันเป็นผลจากการขับดันของกร ะบวนการโลกา ภิวัติน์(ที่พยายามทำให้โลก มีแบบแผนแบบเดียวกัน)ซึ้งมั นได้ทำให้ "รัฐราชาธิปไตย"ทั้งหลายเกิ ดการเปลี่ยนแปลงไปสู่"ระบอบ ประชาธิปไตยทุนนิยม"ภายใต้ก ารปกครองของชนชั้นนายทุน ที่ล้มล้างระบอบขุนนาง-กษัต ริย์ หรือบางแห่งเหลือไว้เป็นสัญ ลักษ์ และ ความเป็นโลกวิสัย-ฆราวาสนิย ม หรือ "เซคูล่าร์ลิสต์(secularist )"หรือ การแยกศาสนาออกจากการเมือง เศรฐกิจ สังคม และผลักดันศาสนาไปสู่ชายขอบ ของสังคมโดยการเติมเต็มลัทธิทุนนิยม และบริโภคนิยม อันเป็นอวิชชาให้แก่ประชาชน สังคมของประชาชาติพุทธ ก็ไม่อาจหลีกพ้น"สภาวะอวิชช า"ได้หลังจากความรุ่งเรืองข องจักรวรรดิพุทธของ&quo