ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อาณาจักรสุโขทัย ผู้เจริญรอยตามวิถีระบอบแห่งพุทธศาสนา

โดย พุทธฆราวาส 

เกริ่นนำ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงเริ้มประกาศพุทธศาสนาในชมพูทวีปนั้นพระองค์มิได้แค่เพียงคัดค้านความเชื่อของพวกเจ้าลัทธิพราหมณ์และเจ้าสำนักต่างๆเท่านั้น พระองค์ยังทรงคัดค้านระบอบการปกครองแบบ"เทวาธิปไตย"ในสมัยนั้นอีกด้วย ที่เชื่อว่าผู้ปกครองหรือรัฐบาล นั้นได้อำนาจมาจากเทพเจ้าหรือเป็นเทพเจ้าที่อวตารมาจุติเป็นมุนษย์ ซึ้งผู้คนควรให้ความศรัทธาหรือเคารพนับถือ พระองค์ทรงชี้ว่าผู้ปกครองจะได้รับการสนับสนุนจากราษฎรก็เพราะการประพฤติ ปฏิบัติและตั้งอยู่ในหลักธรรม พระองค์ทรงเรียกร้องให้เหล่าผู้ปกครองทั้งหลายถือวัตรปฏิบัติทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตร เพื่อมุ่งสู่ ความเป็น"จักรพรรรดิราช"อันเป็นระบอบการปกครองภายใต้ครรลองแห่งธรรมในพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาได้เริ้มเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิในยุคสมัยของจักรพรรดิราชอโศกแห่งโมริยะวงศ์ จักรพรรดิราชองค์แรกของชาวพุทธ ซึ้งได้ส่งพระสมณทูตเข้ามานั้นคือ พระโสณะและพระอุตตระอันเป็นพระสมณฑูตสายที่ 9 ซึ้งได้ถูกส่งเข้ามาเผยแผ่ศาสนาในบริเวณนี้ (ซึ้งในสมัยก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามานั้น ดินแดนแถบนี้ก็ถือเอาศาสนาพราหมณ์และผีเป็นสรณะอยู่ก่อนแล้ว) โดยเริ้มจากดินแดนภาคกลางซึ้งอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรทวาราวดี ซึ้งทำให้อาณาจักรเหล่านี้นั้นได้เปลี่ยนศาสนาจากการนับถือเทพเทวาของพวกพราหมณ์ มาเป็นพุทธศาสนาเถรวาท แทนที่และพุทธศาสนาก็ได้เริ้มขยายตัวไปยังอาณาจักรข้างเคียงและชนชาติต่างๆในดินแดนแถบนี้ โดยเฉพาะกลุ่มชนที่จะมาเป็นเจ้าของดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันแน่นอนครับ นั้นคือ "กลุ่มชนชาติไท" 

หลังจากที่พวกขอมแห่งอาณาจักรนครวัดเสื่อมอำนาจลง อาณาจักรสุโขทัย ก็ถูกสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 1792 โดย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ้งได้ขับไล่อิทธิพลของพวกขอมแห่งนครวัดออกไป โดย รัฐสุโขทัยนี้ เป็นรัฐอิสระของชนชาติไท ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม และมีอาณาเขตกว้างขวางมากขึ้นในสมัยของ"พ่อขุนรามคำแหง" โดยดินแดนทิศเหนือของอาณาจักรนี้นั้นถึงเมืองแพร่ อำเภอปัว จังหวัดน่าน (เมืองพลัว) ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงหลวงพระบาง (ชะวา) ดินแดนด้านทิศใต้ถึงคณที (บ้านโคน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท) สุพรรณบุรี (สุพรรณบุรี) ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช (นครศรีธรรมราช) จรดฝั่งทะเลดินแดนด้านทิศตะวันออก ถึงสรวลวง (พิจิตร) สองแคว (พิษณุโลก) ลุมบาจาย (อำเภอหล่มเก่า ในเพชรบูรณ์) เวียงจันทน์ เวียงคำ ถึงฝั่งแม่น้ำโขง ดินแดน ด้านทิศตะวันตกถึงฉอด (อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก) หงสาวดี จดสมุทรห้าเป็นแดน (อ่างเบงกอล) และในสมัย พ่อขนรามคำแหง นี้เองที่พุทธศาสนาแบบเถรวาทได้เข้ามาสู่อาณาจักรสุโขทัย โดยเมื่อครั้ง พ่อขุนรามคำแหง ขึ้นครองราชย์สมบัตินั้น ทรงสดับกิตติศัพท์ของพระสงฆ์ลังกาซึ้งเป็นพระสงฆ์นิกายเถรวาท จึงทรงอาราธนาพระมหาเถระสังฆราช ซึ่งเป็นพระเถระชาวลังกาที่มาเผยแผ่อยู่ที่นครศรีธรรมราช มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย ซึ้งแต่เดิมอาณาจักรสุโขทัยนั้นนับถือเอา ศาสนาพุทธนิกายมหายานผสมกับหลักคำสอนของฮินดูของทางอาณาจักรนครวัด ซึ้งเป็นพุทธศาสนาที่ถูกบิดเบือน ปลอมปนด้วยความเชื่อไสยศาสตร์ พิธีกรรมฮินดู หาแก่นสารไม่ได้ และการเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทดั้งเดิม นั้นก็เพื่อการเข้าสู่ธรรมอันลึกซึ้งของพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม และ ยังเป็นการสลัดแนวคิดวิถีชีวิต และ วัฒนธรรมแบบมหายาน-พรามหมณ์ของพวกขอมอีกด้วย

เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในดินแดนแถบนี้เป็นครั้งแรกพุทธศาสนามิได้นำเอาคุณค่าของหลักธรรมเข้ามาเพียงแค่นั้น แต่ยังเอาระบบสังคมและวิถีชีวิต รวมไปถึงระบอบการปกครอง มาสู่หมู่ชนในดินแดนแถบนี้ด้วย และ ชนชาติไท แห่งอาณาจักรสุโขทัย นั้นก็ได้น้อมรับเอาการปกครองแบบพุทธศาสนาเข้ามาแทนที่การปกครองแบบปิตุลาธิปไตยอีกด้วย โดย จักรพรรดิราชพระองค์แรกแห่งชนชาติไท นั้นก็คือ พระยาลิไท หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1  โดยพระองค์ทรงถือปฏิบัติตามหลักการแห่งทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตรทุกประการ ทรงปวารณาตนเองเป็นผู้อุปถัมย์พุทธศาสนาตลอดพระชนชีพย์ ทรงบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ราษฎรทั้งหลาย ตลอดสมัยรัชกาลของพระองค์นั้นจะเห็นได้เลยว่าไม่ค่อยมีการศึกสงคราม ทรงเปลี่ยน ศาสตรานุภาพ เป็น ธรรมานุภาพ และได้ทำให้อาณาจักรสุโขทัยกลายเป็น"รัฐพุทธศาสนา"อย่างแท้จริง

อาณาจักรสุโขทัย ดำรงอาณาจักรมาได้อยู่ถึง พ.ศ. 1989 ก็ได้สิ้นสุดลงและถูกผนวกเข้าสู่อาณาจักรอยุธยา เป็นการสิ้นสุดการปกครองแบบธรรมาธิปไตย ไปในตัวอีกด้วยเพราะ กษัตริย์อยุธยาไปจนถึงรัตน์โกสินทร์ทุกพระองค์นั้น นั้นรับเอาระเบียบการปกครองและพิธีกรรมฮินดูของนครวัดกลับเข้ามาใช้อีกครั้ง พระพุทธศาสนากลมกลืนเข้ากับเรื่องราวของพิธีกรรมพราหมณ์-ฮินดูและไสยศาสตร์อีกครั้ง พิธีกรรมพราหมณ์มีมากมายกว่าที่ใด มีการรื้อฟื้นความเชื่อเรื่องสมุติเทพ กษัตริย์ เป็นอวตารเทพที่อยู่ในร่างคน ระบอบเทวาธิปไตยในอยุธยาซึ้งตกทอดมาจากพวกขอมนครวัดรุ่งเรือง และในขณะเดียวกันก็เป็นการปิดฉากของระบอบพุทธศาสนาของชนชาติไทที่สร้างขึ้นมากับมือให้แหลกลงไปในพริบตา.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กษัตริย์อโนรธา นักปฏิวัติแห่งพุทธศาสนา

โดย พุทธฆราวาส หลังจากการสังคายนาครั้งที่ 3 นั้น "จักรพรรดิราชอโศก โมริยวงษ์" หรือ "พระเจ้าอโศกมหาราช"นั้นได้มีการส่งสมณฑูตเข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธในแถบสุวรรณภูมิ ซึ้งหนึ่งนั้นก็คือดินแดนที่เรียกในปัจจุบันว่า"พม่า"ด้วย พม่านั้นเป็นดินแดนที่ศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาช้านาน ก่อนที่ชนชาติพม่าจะเข้ารับนับถือศาสนาพุทธต่อจากชนชาติมอญรามัญ(อันเป็นชนชาติแรกๆในสุวรรณภูมิที่เข้ารับศาสนาพุทธ)ซะอีก ซึ้งในสมัยก่อนนั้นชนชาติพม่านับถือศาสนาผี-ไสย โดยผีของชาวพม่านั้นถูกเรียกว่า"นัต"และ ยังมีลัทธิอะยะจีซึ้งเป็นลัทธิหมอผีท้องถิ่นซึ้งชาวพม่าให้การนับถือก่อนศาสนาพุทธซะอีกจนกระทั่งการมาถึงของบุรุษ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวพม่าทั้งปวง บุรุษผู้นั้นมีชื่อว่า "พระเจ้าอโนรธา" หรือ"พระเจ้าอโนรธามังช่อ" กษัตริย์อโนรธา นั้นถือได้ว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวพุทธและอาณาจักรพม่าทั้งปวง เพราะเป็น กษัตริย์องค์แรกที่ไม่ได้แค่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรเท่านั้น แต่ยังเผยแผ่ธรรมแห่งพระพุทธองค์ ไปสู่ชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยอื่นๆด้วย ซึ้งจุดเริ้มต้นของการท

เมื่อพระพุทธเจ้ากล่าวถึง"ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ"

โดย พุทธฆราวาส ในสมัยพุทธกาลนั้นมีลัทธิมากมายเกิดขึ้นซึ้งล้วนเป็น"ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ"นอกศาสนาพุทธ ซึ้งลัทธิเหล่านี้พระพุทธเจ้า ได้จำแนกความเชื่อลัทธิต่างๆเหล่านี้โดยรวมออกเป็น 3 ลัทธิใหญ่ซึ้งมีความเชื่อและการปฏิบัติไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ๑. ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะกรรมเก่า (past-action determinism) เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตเหตุวาท (ลัทธิกรรมเก่า) ๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่(theistic determinism) เรียกสั้นๆ ว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท (ลัทธิที่เชื่อถือในเรื่อง เทพและพระเจ้า ทั้งหลาย) ๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย (indeterminism หรือ accidentalism) เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท (พิจารณาจากพุทธพจน์แต่ละข้อๆ) ทั้งนี้ตามพุทธพจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ ๓ ระบบเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆกันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยา (การไม่กระทำ) คือ ๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี

"กษัตริย์มินดง"ผู้ปกครองนักปฏิรูปเพื่อพุทธศาสนา

โดย พุทธฆราวาส  กษัตริย์มินดง ท่านเกิดในวันที่ 8 กรกฏาคม ปีพุทธศักราช 2351 ท่านเป็นบุตรของ กษัตริย์แสรงแมง (ซึ้งเป็นกษัติรย์ของพม่าในยุคสมัยนั้น) กับ ราชินีแมนู ในยุคสมัยของท่านนั้นท่านได้ทันเห็นสงครามระหว่างอังกฤษกับพม่าและเห็นการที่พม่าถูกเชือดเฉือนดินแดนออกไป ทำให้ท่านต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมอย่างมากและมีความต้องการในการที่จะพัฒนาประเทศให้ทันสมัยในขณะเดียวกันกับที่คงไว้ซึ้งค่านิยมแบบชาวพุทธและพระพุทธศาสนา หลังจากที่ท่านได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัต ริย์ของพม่าในช่วงปีพุทธศักราช 2396 แล้วนั้นท่านได้เริ้มแผนงานการปฏิรูปประเทศของท่านเป็นการใหญ่และกลายเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการปฏิรูปประเทศอย่างมาก โดยท่านได้ส่งเหล่าพระราชโอรส ขุนนาง และ เชื้อพระวงษ์ ทั้งหลายออกไปดูงานยังประเทศตะวันตกต่างๆเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ และ อิตาลี เพื่อที่จะได้เรียนรู้ความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศเหล่านั้นเพื่อให้คนกลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศพม่าในทุกๆด้าน และ เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกล่าอาณานิคมโดย ศตรูหมายเลขหนึ่งของพม่าในตอนนั้นซึ้งก็คือ อังกฤษ นั้นเอง ที่ได้