ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การต่อสู้ของพุทธศาสนา ที่จตุรัสเทียนอันเหมินปี 1989



โดย พุทธฆราวาส

ตั้งแต่ช่วงหลังศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาเราได้เห็นการเรียกร้องทางการเมืองโดยมีพุทธศาสนากันขนานใหญ่มากมาย เราได้เห็นนักต่อสู้เพื่อพระพุทธศาสนามากมายที่ยอมสละชีวิตตนเองเพื่อปกป้องพุทธศาสนา และ พระธรรมคำสอน ซึ้งหนึ่งในเหตุการณ์นั้นคือ เหตุการณ์การประท้วงที่จตุรัสเทียนอันเหมินในจีนช่วงปี พ.ศ.2532 หรือ ปี 1989

เหตุการณ์จตุรัสเทียนอันเหมินนั้น เป็นที่จดจำของทั่วโลกดีอย่างน้อยก็เป็นที่จดจำของผู้คนในช่วงปลายทศวรรษที่ 80 ที่เผชิญหน้ากับการล่มสลายทางการเมืองของระบอบทรราชอัตตาธิปไตยเผด็จการคอมมิวนิสต์ซึ้งเคยมีอำนาจและแผ่ขยายอิทธิพลกลืนกินไปครึ่งโลก และการเบ่งบานของระบอบประชาธิปไตย ซึ้งในจีนก็ไม่เว้น นำไปสู่การประท้วงเพื่อการปฏิรูปทางการเองให้เป็นประชาธิปไตย ซึ้งภาพที่เราเห็นต่อสายตาชาวโลกนั้นคือภาพของกลุ่มนักศึกษา และ ประชาชน คนชั้นล่าง ทั้งหลายในสังคมจีนที่เผชิญกับสภาวะเศรฐกิจตกต่ำและปัญหาว่างงาน ซึ้งได้ร่วมออกมาต่อสู้เพื่อสิทธิของพวกเขา แต่ยังมีอีกเสียงหนึ่งซึ้งไม่ได้ถ่ายทอดไปสู่สายตาชาวโลก เสียงนั้นเงียบงันแต่เป็นหนึ่งในพลังสำคัญแห่งการต่อสู้เคียงข้างประชาชนชาวจีนในขณะนั้นและมีพลังอยู่ในจิตใจของชาวจีน ไม่มากก็น้อย เสียงนั้นคือเสียงของพระพุทธศาสนา นั้นเอง

หลังการปฏิวัติวัฒนธรรมเป็นต้นมา พระพุทธศาสนา นั้นค่อยๆหมดบทบาทในสังคมและจิตใจของผู้คน พรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้โจมตีพุทธศาสนาอย่างบ้าคลั่ง กล่าวคำอันเป็นการดูหมิ่นพระธรรมคำสอน พระสงฆ์ และ พระพุทธเจ้า อย่างไม่เกรงกลัวบาปกรรม วัดวาอารามถูกเผาทำลาย พระสงฆ์ นางชี ถูกจับสึกเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการลดประชากรและพลังอำนาจในการมีปากเสียงของพุทธศาสนาลง และได้สนับสนุนหลักการของลัทธิมาร์กเป็นหลักยึดของประชาชนแทนที่พุทธศาสนาซึ้งถูกมองว่าเป็นสิ่งล้าหลัง ทำให้ประชากรจีนส่วนมากกลายเป็นคนไร้ศาสนา เพราะได้รับการปลูกฝังจากภาครัฐบาลคอมมิวนิสต์มาตลอดว่า ศาสนา คือ ยาฝิ่น นั้นเอง แม้หลังการตายของเหมา และ การจับกุมแก็งสี่คนแล้วนั้น พระพุทธศาสนา ก็ยังได้รับการดูถูกดูหมิ่นอยู่เรื้อยๆจากสมาชิกและเหล่าผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ และไม่ได้รับการเหลียวแลจากทางภาครัฐ ทำให้พุทธศาสนาเสื่อมถอยลงไปอีก

ถึงกระนั้น พระพุทธศาสนา ก็ค่อยๆได้รับการฟื้นฟูจากพระภิกษุสงฆ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ภายในประเทศ และ คฤหัสต์ผู้ยังยึดมั่นอยู่ในพุทธศาสนาซึ้งเป็นกลุ่มบุคคลที่แก่ชรามากแล้วได้ค่อยๆฟื้นฟูพุทธศาสนาขึ้นมาใหม่ มีการซ่อมแซมวัดวารอารามบางส่วนที่ยังคงหลงเหลือหลังจากยุคปฏิวัติวัฒนธรรม และเริ้มมีการชักชวน เทศนา สั่งสอนให้ชาวจีนรุ่นใหม่กลับมานับถือพุทธศาสนาอีกครั้ง ทำให้พุทธศาสนาค่อยๆฟื้นตัวขึ้นมาอย่างช้าๆไปทีละน้อย ทีละน้อย

จนกระทั้งเหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญได้มาถึงนั้นคือเหตุการณ์ประท้วงที่จตุรัสเทียอันเหมินในปี พ.ศ. 2532 หรือปี 1989 พุทธศาสนาก็ได้แสดงตัวออกมาและเป็นหนึ่งในพลังทางการเมืองที่สำคัญเป็นครั้งแรกหลังจากการปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ เราได้เห็นการเข้าร่วมของพระสงฆ์และสมาคมพุทธจีน ซึ้งได้แสดงออกว่าต้องกรเสรีภาพ ชาวพุทธตะโกนคำขวัญว่า "พุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตย" และ"เสรีภาพแห่งจิตวิญญาณทางความเชื่อ" ไปพร้อมๆกับเหล่านักศึกษาและคนชั้นล่าง การเข้าร่วมในการต่อสู้ครั้งนี้ของพุทธศาสนา พระสงฆ์ และ ชาวพุทธจีน นั้นได้ทำให้พุทธศาสนากลับมาโดดเด่นอีกครั้งในเสียงหนึ่งที่ป่าวร้องภายในขบวนการทางการเมืองประชาธิปไตยของชาวจีน และด้วยบทบาทด้านนี้เองทำให้ผู้คนและประชาชนคนรุ่นใหม่และนักศึกษาของจีนยุคนั้นหันกลับมาศรัทธาในพุทธศาสนาอีกครั้งในฐานะศาสนาที่สนับสนุนหลักการประชาธิปไตย

"พุทธศาสนา"กำลังกลายเป็นพลังการต่อสู้ในโลกยุคใหม่ ที่เสียงของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษย์ขั้นพื้นฐานกำลังขจรขจายไปทั่วโลก ซึ้งพระพุทธศาสนาก็สนับสนุนซึ้งความเสมอภาคและสิทธิเหล่านั้น เช่นเดียวกับที่ชายผู้ได้ชื่อว่าเป็นศาสดาของศาสนาพุทธนามว่า"องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"ทรงไม่เลือกบวชให้ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งและทรงไม่แบ่งแยกชนชั้นวรรณะทรงแสดงถึงความเท่าเทียมกันของความเป็นมนุษย์นั้นแล.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กษัตริย์อโนรธา นักปฏิวัติแห่งพุทธศาสนา

โดย พุทธฆราวาส หลังจากการสังคายนาครั้งที่ 3 นั้น "จักรพรรดิราชอโศก โมริยวงษ์" หรือ "พระเจ้าอโศกมหาราช"นั้นได้มีการส่งสมณฑูตเข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธในแถบสุวรรณภูมิ ซึ้งหนึ่งนั้นก็คือดินแดนที่เรียกในปัจจุบันว่า"พม่า"ด้วย พม่านั้นเป็นดินแดนที่ศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาช้านาน ก่อนที่ชนชาติพม่าจะเข้ารับนับถือศาสนาพุทธต่อจากชนชาติมอญรามัญ(อันเป็นชนชาติแรกๆในสุวรรณภูมิที่เข้ารับศาสนาพุทธ)ซะอีก ซึ้งในสมัยก่อนนั้นชนชาติพม่านับถือศาสนาผี-ไสย โดยผีของชาวพม่านั้นถูกเรียกว่า"นัต"และ ยังมีลัทธิอะยะจีซึ้งเป็นลัทธิหมอผีท้องถิ่นซึ้งชาวพม่าให้การนับถือก่อนศาสนาพุทธซะอีกจนกระทั่งการมาถึงของบุรุษ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวพม่าทั้งปวง บุรุษผู้นั้นมีชื่อว่า "พระเจ้าอโนรธา" หรือ"พระเจ้าอโนรธามังช่อ" กษัตริย์อโนรธา นั้นถือได้ว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวพุทธและอาณาจักรพม่าทั้งปวง เพราะเป็น กษัตริย์องค์แรกที่ไม่ได้แค่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรเท่านั้น แต่ยังเผยแผ่ธรรมแห่งพระพุทธองค์ ไปสู่ชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยอื่นๆด้วย ซึ้งจุดเริ้มต้นของการท...

"กษัตริย์มินดง"ผู้ปกครองนักปฏิรูปเพื่อพุทธศาสนา

โดย พุทธฆราวาส  กษัตริย์มินดง ท่านเกิดในวันที่ 8 กรกฏาคม ปีพุทธศักราช 2351 ท่านเป็นบุตรของ กษัตริย์แสรงแมง (ซึ้งเป็นกษัติรย์ของพม่าในยุคสมัยนั้น) กับ ราชินีแมนู ในยุคสมัยของท่านนั้นท่านได้ทันเห็นสงครามระหว่างอังกฤษกับพม่าและเห็นการที่พม่าถูกเชือดเฉือนดินแดนออกไป ทำให้ท่านต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมอย่างมากและมีความต้องการในการที่จะพัฒนาประเทศให้ทันสมัยในขณะเดียวกันกับที่คงไว้ซึ้งค่านิยมแบบชาวพุทธและพระพุทธศาสนา หลังจากที่ท่านได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัต ริย์ของพม่าในช่วงปีพุทธศักราช 2396 แล้วนั้นท่านได้เริ้มแผนงานการปฏิรูปประเทศของท่านเป็นการใหญ่และกลายเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการปฏิรูปประเทศอย่างมาก โดยท่านได้ส่งเหล่าพระราชโอรส ขุนนาง และ เชื้อพระวงษ์ ทั้งหลายออกไปดูงานยังประเทศตะวันตกต่างๆเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ และ อิตาลี เพื่อที่จะได้เรียนรู้ความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศเหล่านั้นเพื่อให้คนกลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศพม่าในทุกๆด้าน และ เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกล่าอาณานิคมโดย ศตรูหมายเลขหนึ่งของพม่าในตอนนั้นซึ้งก็คือ อังกฤษ นั้นเอง ที...

เมื่อพระพุทธเจ้ากล่าวถึง"ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ"

โดย พุทธฆราวาส ในสมัยพุทธกาลนั้นมีลัทธิมากมายเกิดขึ้นซึ้งล้วนเป็น"ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ"นอกศาสนาพุทธ ซึ้งลัทธิเหล่านี้พระพุทธเจ้า ได้จำแนกความเชื่อลัทธิต่างๆเหล่านี้โดยรวมออกเป็น 3 ลัทธิใหญ่ซึ้งมีความเชื่อและการปฏิบัติไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ๑. ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะกรรมเก่า (past-action determinism) เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตเหตุวาท (ลัทธิกรรมเก่า) ๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่(theistic determinism) เรียกสั้นๆ ว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท (ลัทธิที่เชื่อถือในเรื่อง เทพและพระเจ้า ทั้งหลาย) ๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย (indeterminism หรือ accidentalism) เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท (พิจารณาจากพุทธพจน์แต่ละข้อๆ) ทั้งนี้ตามพุทธพจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ ๓ ระบบเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆกันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยา (การไม่กระทำ) คือ ๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี...