ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จักรวาธิน ระบอบแห่งพุทธศาสนา




โดยพุทธฆราวาส

"จักรวาธิน"หรือ"จักรพรรดิราช"คือ ระบอบการปกครองอันเที่ยงตรงและชอบธรรมของศาสนาพุทธ เป็นระบอบการปกครองที่มุ่งเอื้อให้มนุษย์นั้นกระทำดี ละเว้นการกระทำชั่ว มุ่งสู่ดินแดนพุทธภูมิอันสงบร่มเย็น เเละ เปิดทางให้มนุษย์ชาติวิวัฒนาการไปสู่สิ่งที่สูงกว่า 

ในปัจจุบันศาสนาได้หมดบทบาทอำนาจทางโลกหรือการเมืองทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก อันเป็นผลจากการขับดันของกระบวนการโลกาภิวัติน์(ที่พยายามทำให้โลกมีแบบแผนแบบเดียวกัน)ซึ้งมันได้ทำให้ "รัฐราชาธิปไตย"ทั้งหลายเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่"ระบอบประชาธิปไตยทุนนิยม"ภายใต้การปกครองของชนชั้นนายทุน ที่ล้มล้างระบอบขุนนาง-กษัตริย์ หรือบางแห่งเหลือไว้เป็นสัญลักษ์ และ ความเป็นโลกวิสัย-ฆราวาสนิยม หรือ "เซคูล่าร์ลิสต์(secularist)"หรือ การแยกศาสนาออกจากการเมือง เศรฐกิจ สังคม และผลักดันศาสนาไปสู่ชายขอบของสังคมโดยการเติมเต็มลัทธิทุนนิยมและบริโภคนิยม อันเป็นอวิชชาให้แก่ประชาชน

สังคมของประชาชาติพุทธ ก็ไม่อาจหลีกพ้น"สภาวะอวิชชา"ได้หลังจากความรุ่งเรืองของจักรวรรดิพุทธของ"จักรวาธินอโศก โมริยะวงษ์" หรือ"พระเจ้าอโศกมหราช"อันเป็นจักรพรรดิราชองค์แรกในศาสนาพุทธ ได้ล่มสลายลง ชาวพุทธ ได้แตกแยกตนออกเป็น ประชาชาติเล็กๆต่างๆ ที่ปกครองโดยระบอบ"ราชาธิปไตย" ประชาชาติพุทธ ได้เริ้มอ่อนแอลงอันเนื่องมาจากการต่อสู้กันเอง การแข่งขันกันเอง หากชาวพุทธรวมตัวกันได้ก็เป็นแค่เพียงบางส่วนเท่านั้นไม่ใช้ทั้งหมด ก่อนที่จะเราตกเป็นเหยื่อและถูกรุกรานโดยนักล่าอาณานิคมตะวันตก ซึ้งพวกนี้ไม่ได้มาเพียงเพื่อปกครองหรือยึดครองชาติเราเท่านั้น แต่มันยังมาเพื่อ ปกครองจิตวิญญาณและปัญญาอันอ่อนแอของเราอีกด้วย พวกเขาได้นำรูปแบบสังคมทุนนิยมเข้ามานำเอาแนวคิดทางการเมือง-ศาสนา เข้ามาและทำลายสถาบันอันเป็นรากเหง้าของเรานั้นคือ ศาสนาพุทธ อันเป็นสถาบันที่พวกเขามุ่งโจมตีระดับแรกเพราะเป็นสถาบันที่หลอมรวมวัฒนธรรม แถมยังสามารถปลุกเร้าผู้คนให้ตื่นรู้ และ ลุกขึ้นสู้ได้อีกด้วย

ตะวันตกได้ทำลายพวกเรา แบ่งแยกให้เราอ่อนแอ ด้วยแนวคิดชาตินิยม ทุนนิยม และ คอมมิวนิสต์ นำเราไปสู่สงครามและการประหัตประหารกันเอง สภาวะอันฟอนแฟะของระบอบการปกครองของโลกตะวันตกทั้งหลาย ความคิดแบบวัตถุนิยมและบริโภคนิยม อันห่างไกลจากศาสนาและจริยธรรม ได้นำสังคมเราไปสู่ความเสื่อม ปัญหาคอรัปชั่น ยาเสพติด โสเภณี อาชญกรรม ต่างๆมากมายได้ทำให้เรากลับไปทบทวนว่าถึงเวลาแล้วรึยังที่เราจะหันไปหารากเหง้าของเราและฟื้นฟูระบอบการปกครองแบบพุทธศาสนาขึ้นในประชาชาติพุทธอีกครั้ง

จักรพรรดิราชเป็นระบอบการปกครองอันชอบธรรมของพุทธศาสนาเพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงใคร่นำเสนอและอธิบายถึงระบอบ"จักรวาธิน"หรือ"จักรพรรดิราช"ไว้ดังนี้

- จักรพรรดิราชเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม

ในคติการปกครองของพุทธศาสนานั้นได้อธิบายว่า"จักรพรรดิราช"หมายถึง ผู้ถึงพร้อมในคุณธรรม และอำนาจต่างๆ ในการเป็นพระราชาที่เหนือราชาทั้งหลายในพื้นพิภพ หรือพูดในอีกแง่คือผู้ที่เป็น"จักรพรรดิราช"นั้นจะเป็นผู้ที่มีคุณธรรมอย่างมากและมีอำนาจสูงสุดต่อชนชั้นปกครองของชาวพุทธต่างๆ ตัวอย่างในอดีต ก็เช่น จักรพรรดิราชอโศก โมริยะวงษ์ จักรพรรดิกุบไลข่าน ของราชวงหยวน(มองโกล)ในจีน และ กษัตริย์บุเรงนองของพม่า เป็นต้นซึ้งมีคุณธรรมและอำนาจปกครองเหนืออาณาจักรชาวพุทธต่างๆ

- จักรพรรดิราชเป็นที่พึ่งทางใจ

จักรพรรดิราช นั้นไม่ใช้แค่เพียงผู้ปกครองแต่ในเพียงทางโลกแต่ยังเป็นที่พึ่งทางใจของมนุษย์ เช่นกัน จักรพรรดิราชยังเป็นศูนย์รวมแห่งความภักดี และเป็นแบบอย่างให้มนุษย์ทั้งหลายต้องล้วนทำแต่ความดี ตัวอย่างก็เช่น จักรวาธินอโศก โมริยะวงษ์ ที่ทรงเป็นแบบอย่างในการเอื้อเฟื้อเผือแผ่ เมตตาต่อมนุษย์โดยไม่แบ่งแยกชาติเชื้อ สีผิว ชนชั้น คนหรือสัตว์ ทรงเป็นผู้ยึดมั่นในการกระทำดี ยึดมั่นในพระรัตนตรัย และ ยังสร้างความเจริญทางหลายแก่สังคมเป็นต้น

ซึ้งการที่จะเป็นจักรพรรดิราชได้นั้นจะต้องมีองค์ประกอบ 2 ประการคือ

1. ต้องมีอำนาจเหนือพระมหากษัตริย์หรือชนชั้นปกครองชาวพุทธอื่น ปกครองด้วยธรรมะ มีเมตตาสูง เอื้อให้คนพัฒนาไปสู่พระนิพพาน ใครที่ทำชั่วก็พยายามช่วยเขาเหล่านั้นให้กระทำน้อยลงเพื่อเขาจะได้ไม่ต้องตกนรก

2. ต้องเป็นผู้ปกครองที่่เผยแผ่ศาสนา

นอกจากนี้ จักรพรรดิราชต้องมีขันติธรรมอย่างสูง และต้องรองรับความขัดแย้งได้มาก ขณะเดียวกันก็ต้องเผยแผ่พุทธศาสนาได้มากเช่น กษัตริย์บุเรงนอง หรือ จักรวาธินอโศกโมริยะวงศ์ เป็นต้น

ในปัจจุบันเราพบความโสมม ความฟอนเฟะของมัน อันเป็นผบจากอวิชชาของแนวคิดต่างๆจากโลกตะวันตก ถึงเวลารึยังที่เราจะต้องออกจากวังวนอุบาทย์นี้และมุ่งสู่การตรัสรู้ หรือ การมองโลกตามความเป็นจริง.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กษัตริย์อโนรธา นักปฏิวัติแห่งพุทธศาสนา

โดย พุทธฆราวาส หลังจากการสังคายนาครั้งที่ 3 นั้น "จักรพรรดิราชอโศก โมริยวงษ์" หรือ "พระเจ้าอโศกมหาราช"นั้นได้มีการส่งสมณฑูตเข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธในแถบสุวรรณภูมิ ซึ้งหนึ่งนั้นก็คือดินแดนที่เรียกในปัจจุบันว่า"พม่า"ด้วย พม่านั้นเป็นดินแดนที่ศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาช้านาน ก่อนที่ชนชาติพม่าจะเข้ารับนับถือศาสนาพุทธต่อจากชนชาติมอญรามัญ(อันเป็นชนชาติแรกๆในสุวรรณภูมิที่เข้ารับศาสนาพุทธ)ซะอีก ซึ้งในสมัยก่อนนั้นชนชาติพม่านับถือศาสนาผี-ไสย โดยผีของชาวพม่านั้นถูกเรียกว่า"นัต"และ ยังมีลัทธิอะยะจีซึ้งเป็นลัทธิหมอผีท้องถิ่นซึ้งชาวพม่าให้การนับถือก่อนศาสนาพุทธซะอีกจนกระทั่งการมาถึงของบุรุษ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวพม่าทั้งปวง บุรุษผู้นั้นมีชื่อว่า "พระเจ้าอโนรธา" หรือ"พระเจ้าอโนรธามังช่อ" กษัตริย์อโนรธา นั้นถือได้ว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวพุทธและอาณาจักรพม่าทั้งปวง เพราะเป็น กษัตริย์องค์แรกที่ไม่ได้แค่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรเท่านั้น แต่ยังเผยแผ่ธรรมแห่งพระพุทธองค์ ไปสู่ชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยอื่นๆด้วย ซึ้งจุดเริ้มต้นของการท...

"กษัตริย์มินดง"ผู้ปกครองนักปฏิรูปเพื่อพุทธศาสนา

โดย พุทธฆราวาส  กษัตริย์มินดง ท่านเกิดในวันที่ 8 กรกฏาคม ปีพุทธศักราช 2351 ท่านเป็นบุตรของ กษัตริย์แสรงแมง (ซึ้งเป็นกษัติรย์ของพม่าในยุคสมัยนั้น) กับ ราชินีแมนู ในยุคสมัยของท่านนั้นท่านได้ทันเห็นสงครามระหว่างอังกฤษกับพม่าและเห็นการที่พม่าถูกเชือดเฉือนดินแดนออกไป ทำให้ท่านต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมอย่างมากและมีความต้องการในการที่จะพัฒนาประเทศให้ทันสมัยในขณะเดียวกันกับที่คงไว้ซึ้งค่านิยมแบบชาวพุทธและพระพุทธศาสนา หลังจากที่ท่านได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัต ริย์ของพม่าในช่วงปีพุทธศักราช 2396 แล้วนั้นท่านได้เริ้มแผนงานการปฏิรูปประเทศของท่านเป็นการใหญ่และกลายเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการปฏิรูปประเทศอย่างมาก โดยท่านได้ส่งเหล่าพระราชโอรส ขุนนาง และ เชื้อพระวงษ์ ทั้งหลายออกไปดูงานยังประเทศตะวันตกต่างๆเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ และ อิตาลี เพื่อที่จะได้เรียนรู้ความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศเหล่านั้นเพื่อให้คนกลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศพม่าในทุกๆด้าน และ เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกล่าอาณานิคมโดย ศตรูหมายเลขหนึ่งของพม่าในตอนนั้นซึ้งก็คือ อังกฤษ นั้นเอง ที...

เมื่อพระพุทธเจ้ากล่าวถึง"ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ"

โดย พุทธฆราวาส ในสมัยพุทธกาลนั้นมีลัทธิมากมายเกิดขึ้นซึ้งล้วนเป็น"ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ"นอกศาสนาพุทธ ซึ้งลัทธิเหล่านี้พระพุทธเจ้า ได้จำแนกความเชื่อลัทธิต่างๆเหล่านี้โดยรวมออกเป็น 3 ลัทธิใหญ่ซึ้งมีความเชื่อและการปฏิบัติไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ๑. ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะกรรมเก่า (past-action determinism) เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตเหตุวาท (ลัทธิกรรมเก่า) ๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่(theistic determinism) เรียกสั้นๆ ว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท (ลัทธิที่เชื่อถือในเรื่อง เทพและพระเจ้า ทั้งหลาย) ๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย (indeterminism หรือ accidentalism) เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท (พิจารณาจากพุทธพจน์แต่ละข้อๆ) ทั้งนี้ตามพุทธพจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ ๓ ระบบเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆกันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยา (การไม่กระทำ) คือ ๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี...