ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กษัตริย์อโนรธา นักปฏิวัติแห่งพุทธศาสนา




โดย พุทธฆราวาส

หลังจากการสังคายนาครั้งที่ 3 นั้น "จักรพรรดิราชอโศก โมริยวงษ์" หรือ "พระเจ้าอโศกมหาราช"นั้นได้มีการส่งสมณฑูตเข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธในแถบสุวรรณภูมิ ซึ้งหนึ่งนั้นก็คือดินแดนที่เรียกในปัจจุบันว่า"พม่า"ด้วย

พม่านั้นเป็นดินแดนที่ศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาช้านาน ก่อนที่ชนชาติพม่าจะเข้ารับนับถือศาสนาพุทธต่อจากชนชาติมอญรามัญ(อันเป็นชนชาติแรกๆในสุวรรณภูมิที่เข้ารับศาสนาพุทธ)ซะอีก ซึ้งในสมัยก่อนนั้นชนชาติพม่านับถือศาสนาผี-ไสย โดยผีของชาวพม่านั้นถูกเรียกว่า"นัต"และยังมีลัทธิอะยะจีซึ้งเป็นลัทธิหมอผีท้องถิ่นซึ้งชาวพม่าให้การนับถือก่อนศาสนาพุทธซะอีกจนกระทั่งการมาถึงของบุรุษ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวพม่าทั้งปวง บุรุษผู้นั้นมีชื่อว่า "พระเจ้าอโนรธา" หรือ"พระเจ้าอโนรธามังช่อ"

กษัตริย์อโนรธา นั้นถือได้ว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวพุทธและอาณาจักรพม่าทั้งปวง เพราะเป็น กษัตริย์องค์แรกที่ไม่ได้แค่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรเท่านั้น แต่ยังเผยแผ่ธรรมแห่งพระพุทธองค์ ไปสู่ชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยอื่นๆด้วย ซึ้งจุดเริ้มต้นของการที่พระองค์หันมานับถือศาสนาพุทธ นั้นก็เพราะว่า ทรงเบื่อหน่ายศาสนาดั้งเดิม ซึ้งไร้แก่นสารและงมงาย ซึ้งในตอนนั้นได้มีพระสงฆ์ชาวมอญรูปหนึ่งนามว่า"พระชินอรหันต์"เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในพม่า ซึ้งพระเจ้าอโนรธา ได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับ"พระชินอรหันต์"พระองค์ทรงเห็นทางสว่างและนับถือศาสนาพุทธนับตั้งแต่นั้นมา

นอกจากนี้ พระเจ้าอโนรธายังได้ยกทัพไปตีได้เมืองสะเทิม พร้อมกับอันเชิญพระไตรปิฎกและพระเถระผู้เชี่ยวชาญในพระคำภีร์มาสู่พุกาม พระเถระชาวมอญซึ่งชำนาญในคำภีร์ได้ช่วยชินอรหันต์เป็นอย่างมากเพื่อให้พุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาอันชอบเป็นที่แพร่หลาย พระเจ้าอโนรธามิเพียงสร้างพระเจดีย์ในพุกามแต่ยังทรงสร้างเจดีย์ในทุกที่ที่เสด็จไปถึง ในบรรดาเจดีย์เหล่านี้ เจดีย์ที่โดดเด่นที่สุดคือ"พระเจดีย์ชเวดากอง"

ในทุกหนทุกแห่งที่กษัตริย์อโนรธาชนะศึกแทนที่พระองค์จะสร้างเสาหินแห่งชัยชนะไว้ แต่พระองค์กลับสร้างแผ่นอิฐจารึกบทสวดมนตร์ในพุทธศาสนาทั้งในแบบภาษาบาลีและสันสกฤต และพระองค์ยังทรงทำให้เมืองพุกามเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนานิกายเถรวาทของภูมิภาคอีกด้วยและในการที่จะให้พุทธศาสนาแพร่หลาย กษัตริย์อโนรธายังได้ให้มีการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกกันในวัด พุทธศาสนาที่พระองค์ได้อุปถัมภ์นั้นอย่างมั่นคงมาได้จวบจนปัจจุบัน” ในการนำพุทธศาสนาจากแผ่นดินของชาวมอญมาสู่แผ่นดินพุกามนั้น พม่ายกย่อง พระชินอรหันต์ ภิกษุมอญ เป็นดุจผู้ส่องไฟนำทาง และกษัตริย์อโนรธาเป็นดุจผู้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งพุทธศาสนาบนแผ่นดินพม่า ส่วนเหล่านักบวชหมอผีในลัทธิอะเยจีซึ้งเคยครอบงำแผ่นดินพม่าและชักจูงให้ประชาชนหลงงมงายในไสยศาสตร์-อวิชชา นั้นถูกตีตราให้เป็นพวกมิจฉาทิฐิ ซึ้งพวกเหล่านี้เป็นกลุ่มนักบวชที่แผ่อิทธิพลเหนือชาวบ้านด้วยการเอานรกมาขู่ ยกสวรรค์มาอ้าง และหากินกับลาภสักการะ การนำพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทอันเป็นศาสนาอันชอบด้วยสัมมาทิฐิมาสู่อาณาจักรของชาวเมียนมานั้น จึงถือเป็นการทำลายอำนาจมืดจากความเชื่อผิดๆภาพของกษัตริย์อโนรธาในแบบเรียนจึงเป็นภาพของนักปฏิวัติทางความคิดเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมของชาวพุทธ

กษัตริย์อโนรธา นั้นไม่ใช้แค่วีรกษัตริย์แห่งชนชาติพม่าอย่างเดียว แต่หากเป็นวีรบุรุษนักปฏิวัติของชาวพุทธด้วย ซึ้งพระองค์ถือว่าเป็นนักปฏิวัติที่ชาญฉลาด ที่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสังคมพม่าให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วยตามหนทางแห่งพระพุทธศาสนา.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เมื่อพระพุทธเจ้ากล่าวถึง"ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ"

โดย พุทธฆราวาส ในสมัยพุทธกาลนั้นมีลัทธิมากมายเกิดขึ้นซึ้งล้วนเป็น"ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ"นอกศาสนาพุทธ ซึ้งลัทธิเหล่านี้พระพุทธเจ้า ได้จำแนกความเชื่อลัทธิต่างๆเหล่านี้โดยรวมออกเป็น 3 ลัทธิใหญ่ซึ้งมีความเชื่อและการปฏิบัติไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ๑. ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะกรรมเก่า (past-action determinism) เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตเหตุวาท (ลัทธิกรรมเก่า) ๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่(theistic determinism) เรียกสั้นๆ ว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท (ลัทธิที่เชื่อถือในเรื่อง เทพและพระเจ้า ทั้งหลาย) ๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย (indeterminism หรือ accidentalism) เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท (พิจารณาจากพุทธพจน์แต่ละข้อๆ) ทั้งนี้ตามพุทธพจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ ๓ ระบบเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆกันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยา (การไม่กระทำ) คือ ๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี

"กษัตริย์มินดง"ผู้ปกครองนักปฏิรูปเพื่อพุทธศาสนา

โดย พุทธฆราวาส  กษัตริย์มินดง ท่านเกิดในวันที่ 8 กรกฏาคม ปีพุทธศักราช 2351 ท่านเป็นบุตรของ กษัตริย์แสรงแมง (ซึ้งเป็นกษัติรย์ของพม่าในยุคสมัยนั้น) กับ ราชินีแมนู ในยุคสมัยของท่านนั้นท่านได้ทันเห็นสงครามระหว่างอังกฤษกับพม่าและเห็นการที่พม่าถูกเชือดเฉือนดินแดนออกไป ทำให้ท่านต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมอย่างมากและมีความต้องการในการที่จะพัฒนาประเทศให้ทันสมัยในขณะเดียวกันกับที่คงไว้ซึ้งค่านิยมแบบชาวพุทธและพระพุทธศาสนา หลังจากที่ท่านได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัต ริย์ของพม่าในช่วงปีพุทธศักราช 2396 แล้วนั้นท่านได้เริ้มแผนงานการปฏิรูปประเทศของท่านเป็นการใหญ่และกลายเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการปฏิรูปประเทศอย่างมาก โดยท่านได้ส่งเหล่าพระราชโอรส ขุนนาง และ เชื้อพระวงษ์ ทั้งหลายออกไปดูงานยังประเทศตะวันตกต่างๆเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ และ อิตาลี เพื่อที่จะได้เรียนรู้ความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศเหล่านั้นเพื่อให้คนกลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศพม่าในทุกๆด้าน และ เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกล่าอาณานิคมโดย ศตรูหมายเลขหนึ่งของพม่าในตอนนั้นซึ้งก็คือ อังกฤษ นั้นเอง ที่ได้