ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2017

ลัทธิชาตินิยม - ภูมิภาคนิยม คือ ตัวบ่อนทำลายเอกภาพแห่งประชาชาชาติพุทธ

โดย พุทธฆราวาส พุทธศาสนา นั้นคือศาสนาที่ยิ่งใหญ่ ศาสนาที่สร้างความเป็นเอกภาพ เป็นศาสนาแห่งปัญญา ศาสนาแห่งการตื่นรู้ในสัจธรรมที่แท้จริงของโลกโดยมนุษย์เอง ซึ้งไม่ต้องพึ่งบุญบารมีศักสิทธิย์ของเทพเจ้าหรือพระเจ้าทั้งหลายอันเป็นความเชื่องมงาย อันเกิดมาจากความไม่รู้หรือ"อวิชชา"นั้นเอง ซึ้งศาสนานี้ได้มอบความเป็น"พุทธะ"หรือ การตื่นรู้ให้แก่มนุษย์ชาติทุกผู้ทุกคน เฉกเช่น "ดังการเปิดของที่คว่ำ หงายของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง" แต่ในประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธต้องเผชิญหน้ากับการทำลายหลากหลายรูปแบบ ทั้ง การสังหารหมู่ การสนับสนุนผู้ปกครองที่ฉ้อฉลมีความเป็นอธรรม การกดขี่ และการพยายามบิดเบือนคำสอนขององค์พุทธะ จากพวกเดียรถีย์ทั้งหลายที่มีจิตใจมุ่งหวังทำลายพุทธศาสนา และเพื่อทำให้ชาวพุทธเกิดความไข้วเขวต่อหลักการและเพื่อดับการตื่นรู้ทางปัญญาของมนุษย์อีกด้วย "ลัทธิชาตินิยม"นั้นก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ชาวพุทธไขว้เขวต่อหลักการ และหันไปนับถือหรือบูชาความเป็น รัฐ-ชาติ เป็นหลักการสำคัญแทนพุทธศาสนา โดย"ลัทธิชาตินิยม"นั้นเป็นอุดมการณ

"กษัตริย์มินดง"ผู้ปกครองนักปฏิรูปเพื่อพุทธศาสนา

โดย พุทธฆราวาส  กษัตริย์มินดง ท่านเกิดในวันที่ 8 กรกฏาคม ปีพุทธศักราช 2351 ท่านเป็นบุตรของ กษัตริย์แสรงแมง (ซึ้งเป็นกษัติรย์ของพม่าในยุคสมัยนั้น) กับ ราชินีแมนู ในยุคสมัยของท่านนั้นท่านได้ทันเห็นสงครามระหว่างอังกฤษกับพม่าและเห็นการที่พม่าถูกเชือดเฉือนดินแดนออกไป ทำให้ท่านต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมอย่างมากและมีความต้องการในการที่จะพัฒนาประเทศให้ทันสมัยในขณะเดียวกันกับที่คงไว้ซึ้งค่านิยมแบบชาวพุทธและพระพุทธศาสนา หลังจากที่ท่านได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัต ริย์ของพม่าในช่วงปีพุทธศักราช 2396 แล้วนั้นท่านได้เริ้มแผนงานการปฏิรูปประเทศของท่านเป็นการใหญ่และกลายเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการปฏิรูปประเทศอย่างมาก โดยท่านได้ส่งเหล่าพระราชโอรส ขุนนาง และ เชื้อพระวงษ์ ทั้งหลายออกไปดูงานยังประเทศตะวันตกต่างๆเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ และ อิตาลี เพื่อที่จะได้เรียนรู้ความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศเหล่านั้นเพื่อให้คนกลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศพม่าในทุกๆด้าน และ เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกล่าอาณานิคมโดย ศตรูหมายเลขหนึ่งของพม่าในตอนนั้นซึ้งก็คือ อังกฤษ นั้นเอง ที่ได้

"พุทธสมาคมเบงกอล"ขบวนการฟื้นฟูพุทธศาสนาในเบงกอลตะวันออก

โดย พุทธฆราวาส พุทธสมาคมแห่งเบงกอล นั้นเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางพุทธศาสนาที่สำคัญต่อการฟื้นฟูพุทธศาสนาในแถบบริเวณเบงกอลตะวันออกและอินเดียระหว่างศตวรรษที่ 19 และ 20 แถมขบวนการนี้ยังเป็นขบวนการที่มุ่งรื้อฟื้นแบบแผนปฏิบัติของพุทธศาสนา และเรียกร้องให้ชาวอินเดียทั้งหลายปลดแอกตนเองออกจากระบบวรรณะและการกดขี่จากเจ้าจักรวรรดินิยมอังกฤษ มาสู่ความเท่าเทียมกันในฐานะของเพื่อนมนุษย์และสันติภาพที่ไร้การเบียดเบียนกัน โดยมีการนำเอารากฐานแ ละแบบแผนของพุทธศาสนามาเป็นทางนำ บุคคลผู้ก่อตั้งขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อการฟื้นฟูพุทธศาสนาในเบงกอลตะวันออก ในนามของขบวนการ พุทธสมาคมแห่งเบงกอลตะวันออก นั้นก็คือ"พระกฤษปาสรัน มหาสถวีระ"พระภิกษุสงฆ์ชาวเบงกอล โดยท่านเกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 1865 ในหมู่บ้านเล็กๆแถบหนึ่งของ จิตตะกอง ซึ้งเป็นดินแดนที่มี ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เป็นศาสนาประจำกลุ่มชนทั้งหลายแถบนี้ทำให้แตกต่างจากส่วนอื่นๆที่มีชาวมุสลิมและชาวฮินดูเป็นคนส่วนใหญ่ โดยท่านนั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการรวบรวมและเผยแผร่พุทธศาสนาในแถบบริเวณ เบงกอลตะวันออก รวมไปถึงในอีกหลายๆพื้นที่ของอินเดียเช่น ศิม

ชาวพุทธที่แท้ ทั้งหลายต้องต่อสู้เพื่อสถาปนา"ระบอบจักรพรรดิราช"

โดย พุทธฆราวาส เกริ่นนำ ตั้งแต่ศตวรรรษที่ 19 เป็นต้นมานั้น พุทธศาสนาและหมู่มวลประชาชาติพุทธ ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติการณ์ทั้งภายนอกและภายใน ภายนอกนั้นคือ การแผ่ขยายตัวของลัทธิเจ้าจักรวรรดินิยมตะวันตกทั้ง อังกฤษและฝรั่งเศษรวมไปถึงอีกหลายชาติ ซึ้งถูกบงการและสนับสนุนอย่างแข็งขันจากพวกพ่อค้า นายทุน ซึ้งได้ร่วมลงขันสนับสนุนให้ประเทศตะวันตกต่างๆเหล่านี้นั้น ส่งเรือปืน และ กองกำลังติดอาวุธ เข้าไปปล้นชิงเอาทรัพยากรและยึดครองดินแดนต่างๆให้เข้ามาอยู่ในระบบการค้าเสรีและตลาดทรัพสินทร์โลก ซึ้งพวกนายทุนหยิบเลือกจะใช้สอยเมื่อไหร่ก็ได้ และ ภัยที่เกิดจากภายในตัวของประชาชาติพุทธเอง ทั้งความเสื่อมจากการละเลยปฏิบัติต่อหลักธรรมอย่างเคร่งครัดของชาวพุทธ เทคโนโลยีที่ล้าหลัง การปฏิวัตและมีอำนาจขึ้นมาของกลุ่มชนชั้นนายทุนสมัยใหม่ในสังคมของชาวพุทธเองที่เกิดผลพวงระบบการค้าโลกที่ชาวตะวันตกได้นำเอามายัดเยียดให้ ซึ้งคนเหล่านี้นั้นได้กระทำการกดขี่ขูดรีดต่อชาวพุทธเช่นเดียวกันกับนายทุนของพวกจักรวรรดินิยมตะวันตกไม่มีผิดเพี้ยน ไม่ใช้แค่นั้นเราชาวพุทธต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ทางอุดมการณ์อีกด้วยซึ้ง วิกฤติ นี้ไม่ได้เกิด