ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

"กษัตริย์มินดง"ผู้ปกครองนักปฏิรูปเพื่อพุทธศาสนา




โดย พุทธฆราวาส 

กษัตริย์มินดง ท่านเกิดในวันที่ 8 กรกฏาคม ปีพุทธศักราช 2351 ท่านเป็นบุตรของ กษัตริย์แสรงแมง (ซึ้งเป็นกษัติรย์ของพม่าในยุคสมัยนั้น) กับ ราชินีแมนู ในยุคสมัยของท่านนั้นท่านได้ทันเห็นสงครามระหว่างอังกฤษกับพม่าและเห็นการที่พม่าถูกเชือดเฉือนดินแดนออกไป ทำให้ท่านต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมอย่างมากและมีความต้องการในการที่จะพัฒนาประเทศให้ทันสมัยในขณะเดียวกันกับที่คงไว้ซึ้งค่านิยมแบบชาวพุทธและพระพุทธศาสนา

หลังจากที่ท่านได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ของพม่าในช่วงปีพุทธศักราช 2396 แล้วนั้นท่านได้เริ้มแผนงานการปฏิรูปประเทศของท่านเป็นการใหญ่และกลายเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการปฏิรูปประเทศอย่างมาก โดยท่านได้ส่งเหล่าพระราชโอรส ขุนนาง และ เชื้อพระวงษ์ ทั้งหลายออกไปดูงานยังประเทศตะวันตกต่างๆเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ และ อิตาลี เพื่อที่จะได้เรียนรู้ความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศเหล่านั้นเพื่อให้คนกลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศพม่าในทุกๆด้าน และ เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกล่าอาณานิคมโดย ศตรูหมายเลขหนึ่งของพม่าในตอนนั้นซึ้งก็คือ อังกฤษ นั้นเอง ที่ได้เฉือนประเทศพม่าออกเป็นสองส่วน ได้แก่ทางเหนือซึ้งยังคงเป็นอิสระถูกปกครองโดยราชวงศ์อลองพญาของพระเจ้ามินดง และ ทางใต้ ซึ้งถูกปกครองโดยจักรวรรดินิยมอังกฤษ

ท่านได้ทำการปฏิรูปประเทศของ่ทานให้ทันสมัยมากขึ้นด้วยการจัดการระบบบริหารด้วยการเริ้มจัดตั้งระบบข้าราชการเงินเดือน การปฏิรูปการศาลและกฏหมาย ปฎิรูประบบภาษี ท่านยังได้เริ้มจัดตั้งกองทัพใหม่ด้วยการจ้างนายทหารชาวต่างชาติเข้ามา และได้จัดตั้งกรมตำรวจขึ้นในพม่าอีกด้วย แต่ถึงท่านจะเริ้มปรับเปลี่ยนประเทศให้ทันสมัยหรือเป็นแบบตะวันตกแค่ใหน ท่านก็ยังไม่ลืมที่จะส่งเสริมพุทธศาสนาและค่านิยมชาวพุทธ ซึ้งฝังรากลึกอยู่ในชาวพม่า ท่านยังสนับสนุนการงานของในการเผยแพร่พุทธศาสนาในต่างประเทศมากมาย เช่นการสนับสนุน ท่านอนาคาริก ธรรมปุละ ในการต่อสู้เพื่อทวงสิทธิย์ของชาวพุทธในพื้นที่พุทธคยาคืนจากชาวฮินดู เป็นต้น ไม่ใช้แค่นั้นท่านยังจัดให้มีการประชุมพุทธศาสนาสภาสากล ที่กรุงมัณฑะเลย์ ในปีพุทธศักราช 2411 อีกด้วยและท่านยังให้การสนับสนุนพระสงฆ์ในประเทศอย่างมาก จนถือได้ว่าท่านเป็นกษัตริย์ ที่มีความเป็น"ธรรมราชา" องค์หนึ่งของพม่าเลยทีเดียว

ท่านเสียชีวิตในวันที่ 1 ตุลาคม ปีพุทธศักราชที่ 2421 ในพระราชวังที่กรุงมัณฑะเลย์ ท่านได้กลายเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากในการสร้างคุณประโยชน์ต่อประชาชาติพุทธนี้อย่างมากท่านได้เสนอแนวทางในการพัฒนาประเทศไปพร้อมๆกับการสร้างคุณค่าต่อพุทธศาสนา และท่านยังได้รับการชื่นชมว่าเป็นกษัตริย์หัวทันสมัยวีรบุรษของชาวพม่าทั้งปวงอีกด้วย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กษัตริย์อโนรธา นักปฏิวัติแห่งพุทธศาสนา

โดย พุทธฆราวาส หลังจากการสังคายนาครั้งที่ 3 นั้น "จักรพรรดิราชอโศก โมริยวงษ์" หรือ "พระเจ้าอโศกมหาราช"นั้นได้มีการส่งสมณฑูตเข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธในแถบสุวรรณภูมิ ซึ้งหนึ่งนั้นก็คือดินแดนที่เรียกในปัจจุบันว่า"พม่า"ด้วย พม่านั้นเป็นดินแดนที่ศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาช้านาน ก่อนที่ชนชาติพม่าจะเข้ารับนับถือศาสนาพุทธต่อจากชนชาติมอญรามัญ(อันเป็นชนชาติแรกๆในสุวรรณภูมิที่เข้ารับศาสนาพุทธ)ซะอีก ซึ้งในสมัยก่อนนั้นชนชาติพม่านับถือศาสนาผี-ไสย โดยผีของชาวพม่านั้นถูกเรียกว่า"นัต"และ ยังมีลัทธิอะยะจีซึ้งเป็นลัทธิหมอผีท้องถิ่นซึ้งชาวพม่าให้การนับถือก่อนศาสนาพุทธซะอีกจนกระทั่งการมาถึงของบุรุษ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวพม่าทั้งปวง บุรุษผู้นั้นมีชื่อว่า "พระเจ้าอโนรธา" หรือ"พระเจ้าอโนรธามังช่อ" กษัตริย์อโนรธา นั้นถือได้ว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวพุทธและอาณาจักรพม่าทั้งปวง เพราะเป็น กษัตริย์องค์แรกที่ไม่ได้แค่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรเท่านั้น แต่ยังเผยแผ่ธรรมแห่งพระพุทธองค์ ไปสู่ชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยอื่นๆด้วย ซึ้งจุดเริ้มต้นของการท...

เมื่อพระพุทธเจ้ากล่าวถึง"ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ"

โดย พุทธฆราวาส ในสมัยพุทธกาลนั้นมีลัทธิมากมายเกิดขึ้นซึ้งล้วนเป็น"ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ"นอกศาสนาพุทธ ซึ้งลัทธิเหล่านี้พระพุทธเจ้า ได้จำแนกความเชื่อลัทธิต่างๆเหล่านี้โดยรวมออกเป็น 3 ลัทธิใหญ่ซึ้งมีความเชื่อและการปฏิบัติไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ๑. ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะกรรมเก่า (past-action determinism) เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตเหตุวาท (ลัทธิกรรมเก่า) ๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่(theistic determinism) เรียกสั้นๆ ว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท (ลัทธิที่เชื่อถือในเรื่อง เทพและพระเจ้า ทั้งหลาย) ๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย (indeterminism หรือ accidentalism) เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท (พิจารณาจากพุทธพจน์แต่ละข้อๆ) ทั้งนี้ตามพุทธพจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ ๓ ระบบเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆกันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยา (การไม่กระทำ) คือ ๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี...